วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Trans-Siberian Lil Trip 7: Omsk ออมสก์ - เมืองเด็กไทยที่ถูกลืม

หลังจากกระโดดขึ้นรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียกลับจากอิร์คุสก์กันออกมา
ชีวิตบนรถไฟเรียกได้ว่า กินๆนอนๆอย่างเดียว มีเน็ตโผล่มาบ้างเป็นครั้งคราว
ด้วยความที่กินมาม่ากันมาหลายมื้อ
ส่วนตัวเป็นคนชอบกินเนื้อสัตว์ เลยเริ่มไม่รับกับมาม่า
จากเป็นคนพูดเก่ง กลายเป็นคนเงียบขรึม ถึงขนาดซึมเลยทีเดียว
เราเลยตัดสินใจบอกพี่ๆว่าจะไปตู้เสบียงนะ จะไปซื้ออาหาร
เราไม่ไหวแล้ววววว ต้องการอาหารชนิดอื่น

รถไฟสายระยะยาวของรัสเซีย ปกติจะมีตู้เสบียงไว้คอยขายอาหารค่ะ
จริงๆแล้วตู้โบกี้ที่เราเดินทางกัน ก็จะมีป้าผู้ดูแลด้วย 
ซึ่งนางก็จะมีของมาขายเหมือนกัน แต่เที่ยวนี้ไม่มีค่าาาา 
เที่ยวก่อนตอนเสบียงเต็มนี่ป้าก็มีเต็มเหมือนกัน
หลังจากตัดสินใจเดินไปซื้ออาหารที่ตู้เสบียง

ภายในตู้เสบียง หน้าตาประมาณนี้
คือจริงๆแล้วตู้เสบียงบนรถไฟขึ้นชื่อว่าราคาแพงค่ะ คนรัสเซียจึงไม่ค่อยกินกัน
พอไปถึง ป้าเค้าพิจารณาดูสภาพเราแล้วก็ไม่ค่อยอยากจะขาย
นึกว่าเป็นแรงงานมาจากจีนหรือมองโกเลียอะไรประมาณนี้
เราก็ไม่สนใจ สั่งข้าวผัดไข่กับไก่ทอด (ซึ่งมีขายแค่นี้จริงๆ)
พี่ๆและคุคุก็ตัดสินใจกินกับเราด้วย น่ารักจริงๆ 
เราเลยบอกป้าว่าเราเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลรัสเซีย เรียน ป.โท อยู่ในรัสเซียเนี่ยแหละ
ปิดเทอมก็เลยมาเที่ยว ไม่ได้มาทำงาน ใช้แรงงาน
ปฏิกิริยาป้าๆในโบกี้จึงดีขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด
คนรัสเซียชอบคิดว่าตัวเองดีกว่าชาวบ้านแบบนี้ประจำ
เราเสียค่าอาหารกันคนละ 300กว่าบาท แพงอยู่
แต่ก็ดีกว่ามาม่าอะนะ 55555555

นั่งกันมา 40 ชั่วโมง เราก็มาถึงเมืองออมสก์
ออมสก์เป็นเมืองที่รัฐบาลรัสเซียส่งเด็กไทยที่ได้รับทุนกันมาเรียน 3 คน
เป็นผู้หญิงหมดเลย พี่ๆเรียนกันที่มหาวิทยาลัยการสอนแห่งเมืองออมสก์
(Омский государственный педагогический университет)
จริงๆก็เป็นรุ่นพี่ที่โครงการรัสเซียศึกษาที่ธรรมศาสตร์ทั้งหมดเลย
ก็เลยได้มีพี่ๆพาเที่ยว และช่วงจองที่พักให้ด้วย
เราพักกันที่โฮสเทลของมหาลัยพี่เค้า ซึ่งอารมณ์เหมือนหอนักศึกษาที่เปิดให้เช่าพัก
สภาพโดยรวมก็ดีค่ะ ราคาไม่แพง คืนละ 700 บาท/คน/คืน เอง

ออมสก์เป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 รองจากโนโวซิเบียสก์
นับตั้งแต่ผ่านเทือกเขาอูราลมาเลย
และมีขนาดเป็นอันดับ 7 ของประเทศรัสเซียค่ะ
ใช้เวลาในการเดินทางโดยรถไปชายแดนคาซัคสถานเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น
ใกล้กว่าไปมอสโก เมืองหลวงหลายเท่าตัวเลย

สถานีรถไฟเมืองออมสก์


สำหรับมหาลัยการสอนแห่งเมืองออมสก์ก็ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเลยค่ะ
เข้าที่พักแล้วเราก็รีบอาบน้ำแล้วออกไปหาอะไรกินก่อนเลย
เพราะร่างกายต้องการเนื้อสัตว์ค่ะ อิอิ
ร้านที่เราไปกันอยู่ไม่ไกลจากที่พักค่ะ
เป็นร้านอาหารรัสเซีย เดินดุ่ยๆไปก็ถึง
ชื่อร้าน Ёлки-Палки อ่านว่า โยลกี้ปัลกี้
เป็นคำอุทานแสดงอารมณ์ค่ะ
พบได้หลายสาขาทั่วประเทศรัสเซียเลย

สัญลักษณ์หน้าตาร้านเป็นแบบนี้

สลัดซีซาร์แซลมอน
บาร์บีคิวรัสเซีย (ชัชลึค) 
 จากนั้นก็มีแรงเดินชมเมืองกันแล้วค่ะ
โบสถ์ใหญ่ใจกลางเมืองที่เราต้องเดินผ่านและเป็นโบสถ์สำคัญใหญ่ที่สุดของเมือง
ชื่อว่า Успенский собор หรือ Assumption Cathedral
ซึ่งสร้างตั้งแต่สมัยพระเจ้าซาร์นิโคลัย (นิโคลัส) เมื่อปี 1891
ในช่วงที่กำลังสร้างทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย



จากนั้นเราก็เดินผ่านที่ทำการของผู้ว่าการรัฐฯ
แน่นอนว่าต้องมีรูปปั้นเลนิน ผู้นำแนวคิดคอมมิวนิสต์
นอกจากนี้ยังมีรูปปั้นของดอสโตเยฟสกี้ (Fyodor Dostoyevsky)
นักเขียนชื่อดังของรัสเซีย
ที่มีงานเขียนชื่อดังอย่าง อาชญากรรมและการลงทัณฑ์ / พี่น้องคารามาซอฟ ค่ะ
แล้วทำไมถึงมีรูปปั้นนักเขียนท่านนี้อยู่ที่นี่ ก็เพราะว่าในช่วงปี 1849-1854
ถูกซาร์นิโคลัยที่ 1 เนรเทศมาเป็นแรงงานในพื้นที่กันดารในเขตไซบีเรีย
ซึ่งก็คือเมืองออมสก์แห่งนี้นั่นเอง


ส่วนตัวคิดว่าเมืองออมสก์ค่อนข้างเงียบสงบ มีถนนหลักสายใหญ่อยู่หนึ่งสาย
ดูทันสมัยเพราะมีร้านค้าต่างๆ ร้านอาหารอีกมากมาย
 แล้วยังมีรูปปั้นหลากหลายให้ถ่ายรูปด้วย อย่างแม่สาวคนนี้


วันแรกวันเดียวก็สามารถเดินครบหมดเมืองแล้วค่ะ
วันที่สองเราเดินไปริมน้ำ ดูโครงสร้างเมืองเก่าที่ยังพอเหลืออยู่
แต่ด้วยความที่อากาศหนาวมากกกก เลยไม่ได้หยิบกล้องมาถ่ายรูปกันเลย
วันที่เหลือจึงหมดไปกับการนั่งคุยกับพี่ๆ ทำอาหารกินข้าวร่วมกันมากกว่า

ลูกโลกอะไรไม่รู้ อันนี้บอกไม่ได้จริงๆ - -"
แต่อยู่ริมแม่น้ำออมเลย
วันสุดท้ายก็เก็บของ และไปซื้อของตุนเสบียงเตรียมกินบนรถไฟ
ขากลับเป็นขาที่สบายที่สุดในทริป
เพราะนั่งกลับไปเยคาฯเพียงแค่ 8 ชั่วโมงเท่านั้น!!!
จากสถานีรถไฟเมืองเยคาฯ นั่งรถทรอลเลบัสกลับมาที่หอประมาณ 20 นาทีก็ถึง
พอกลับมาถึงหอ จัดการเก็บของ อาบน้ำอาบท่า ก็ถึงเวลากินค่ะ
อากาศหนาวติดลบเกือบ 30 องศา ทำให้ร่างกายต้องการความอบอุ่น
และสุกี้คือคำตอบบบบบ :)

สุกี้ฝีมือพวกเราเองงงง

จบทริปทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย บริบูรณ์ค่ะ ^^



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น